03 สิงหาคม 2559

BCPG เตรียมขายIPOไม่เกิน590ล้านหุ้นเทรดSETก.ย. นี้

ทันหุ้น -BCPG เผย ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่งแล้ว เตรียมขาย IPOไม่เกิน 590 ล้านหุ้น หวังเทรด SET ภายในเดือนกันยายนนี้ เงินที่ได้จากการระดมทุน ขยายธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งในและตปท. ตั้งเป้าปี 63 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 1 พันเมกะวัตต์

นายวราห์ สุจริตกุล กรรมการบริหาร บริษัท หลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัดในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายร่วมของใหญ่ บริษัท บีพีซีจี จำกัด(มหาชน) หรือ BCPG กล่าวว่า บริษัท ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล(ไฟลิ่ง) เพื่อเสอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)แล้ว โดยคณะขณะนี้ ก.ล.ต. ได้มีการมีการนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 และคาดว่าจะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์(SET) ได้ภายในเดือนกันยายน

ทั้งนี้ BCPG จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 590 ล้านหุ้น หรือไม่เกินร้อยละ 29.6 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ จะจัดสรรให้แก่ ผู้ถือหุ้นเดิมของ BCP ตามสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อรักษาสัทธิ(Pre-emptive Right) จำนวนไม่เกิน 68.85 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 11.69 ของจำนวนหุ้น IPO และ ส่วนที่เหลือจะจัดสรรให้แก่ประชาชนั่วไป โดยหากในกรณีที่ยังคงมีหุ้นเหลือจากการจัดสรร Pre-emptive Right BCPG จะนำหุ้นส่วนที่เหลือดังกล่าวทั้งหมดไปรวมจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไปตามสัดส่วน อีกทั้งปัจจุบันBGCP มีทุนจดทะเบียน 1 หมื่นล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้(พาร์) 5 บาท โดยทุนที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดมีจำนวน 1.4 พันล้านหุ้น

ตั้งเป้าปั๊มกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 1พันเมกะวัตต์

นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีพีซีจี จำกัด(มหาชน) หรือ BCPG ผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เปิดเผยว่าเป็นบริษัทในเครือของกลุ่ม บมจ.บางจากปิโตรเลียม ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เพื่อรองรับการขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนในอนาคตของ กลุ่ม บมจ.บางจากปิโตรเลียม โดยในปี 2558 ในผ่านมา บริษัทได้เข้าซื้อกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จาก บมจ.บางจากปิโตรเลียม จำนวนกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญารวม 118 เมกะวัตต์ ซึ่งดำเนินการเชิงพาณิชย์แล้วทั้งหมด

ทั้งนี้ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตที่ได้จำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์และอยู่ระหว่างการติดตั้งทั้งหมด 418 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น โครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทย กำลังการผลิต 182 เมกะวัตต์ และโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศญี่ปุ่น กำลังการผลิต 236 เมกะวัตต์ โดยบริษัทได้ตั้งเป้าหมายมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมดในปี 63 เป็น 1,000 เมกะวัตต์ ซึ่งการลงทุนในกำลังการผลิตที่เหลือเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายคาดว่าจะใช้เงินลงทุนเฉลี่ยราว 80 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ ซึ่งแหล่งเงินทุนจะมาจากเงินที่ได้จากการขาย IPO เงินกู้สถาบันการเงิน ซึ่งโครงการโซลาร์ฟาร์มในประเทศไทยบริษัทสามารถกู้ได้ในสัดส่วน 75% ของมูลค่าการลงทุน และอีก 25% มาจากเงินลงทุนของบริษัทเอง

สำหรับประเภทของพลังงานที่บริษัทจะลงทุนพัฒนานอกเหนือพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ บริษัทสนใจลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ โรงไฟฟ้าพลังงานลม โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ โรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชยะ โดยรูปแบบการลงทุนจะมีทั้งการเข้าซื้อกิจการและการ่วมทุนกับพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งบริษัทยังพยายามพิจารณาผลตอบแทนจากการลงทุนโครงการพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศให้อยู่ในระดับที่สูงกกว่าหรือใกล้เคียงกับผลตอบในปัจจุบันที่การลงทุนโครงการในประเทศไทยจะให้ EBITDA ราว 15-16 ล้านบาท/เมกะวัตต์ และการลงทุนในญี่ปุ่นจะให้ EBITDA ไม่ต่ำกว่า 8-10 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์

ชูนโยบายปันผลไม่น้อยกว่า40%

“เรามีเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายพลังงานทดแทนในระดับสากล โดยร่วมมือกับองค์กรและพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศเพื่อร่วมกันพัฒนาพลังงานทดแทนต่างๆ ในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้อาจจะมีการเข้าซื้อกิจการด้วย แต่บริษัทจะพิจารณาถึงผลตอบแทนที่จะได้จากการลงทุนด้วยให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้”นายบัณฑิต กล่าว

นอกเหนือจากการลงทุนและเป้าหมายการขยายธุรกิจ บริษัทยังมีความสามารถในเรื่องผลตอบแทนกับนักลงทุน เช่น การจ่ายเงินปันผล ที่บริษัทได้กำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิ ทั้งนี้บริษัทมีความตั้งใจจะจ่ายเงินปันผลให้ใกล้เคียงกับบริษัทคู่แข่งรายอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน

โดย : เกศรินทร์ สำแดงภัย