มิติด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และยังมีความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งคํานึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพในการลงทุนต่างๆ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกลุ่มบริษัทมั่นใจได้ว่าการดําเนินงานของกลุ่มบริษัทฯเป็นไปตามหลักการดําเนินงานที่ดี ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ดังเช่นได้จากแนวทางในการบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อมใน “นโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน" ของกลุ่มบริษัทฯ

ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

อัตราส่วนปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อจำนวนพนักงานทั้งหมด

กิโลวัตต์-ชั่วโมง/คน/ปี

อัตราส่วนปริมาณการใช้น้ำประปาต่อจำนวนพนักงานทั้งหมด

ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี

ปริมาณขยะและของเสียรวม

กิโลกรัม

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 และ 2 (ตามขอบเขตการควบคุมการดำเนินงาน)

tCO2e
ณ ปี 2566
การบริหารจัดการพลังงาน

กลุ่มบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้า และเล็งเห็นว่าเป็นหนึ่งในแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยมลภาวะ สุทธิเป็นศูนย์

กลุ่มบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการจัดการพลังงานภายในองค์กรเพื่อลดผลกระทบ จากการดำเนินงานทางธุรกิจ โดย มีขอบเขตในการใช้พลังงานของกลุ่มบริษัทฯ สามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทสำคัญ ได้แก่ การใช้พลังงานภายในสำนักงาน และการใช้พลังงานในโครงการผลิตไฟฟ้า

การบริหารจัดการพลังงาน
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

บริษัทมีการคำนึงถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำโดยใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอน การเลือกพื้นที่โครงการ การเตรียมการก่อสร้าง และ การดำเนินโครงการ

บริษัทยึดการดำเนินงานตามประมวลหลักการปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากเทคโนโลยีแผงโฟโตโวลเทอิก (Code of Practice: COP) และดำเนินงานตามมาตรฐานระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) อย่างเคร่งครัด เพื่อติดตามและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ

การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
การบริหารจัดการของเสีย

กลุ่มบริษัทฯ ให้ความใส่ใจกับการบริหารจัดการของเสียที่เกิดจาก กระบวนการทางธุรกิจของบริษัท

เนื่องจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าของกลุ่มบริษัทฯ มาจากพลังงานหมุนเวียนเป็นหลัก จึงทำให้ของเสียจากกระบวนการผลิตอยู่ในระดับ ต่ำ โดยจากการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ สามารถแบ่งของเสียที่เกิดขึ้นได้เป็นสองประเภท ได้แก่ ของเสียจากอาคาร สำนักงาน และของเสียจากกระบวนการผลิตไฟฟ้า

การบริหารจัดการของเสีย
การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและดำเนินการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะวิจัยจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการประเมินและจัดทำแผนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Action Plan: BAP) ที่มีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ลดผลกระทบ ฟื้นฟู และชดเชยความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

นโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
แผนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ

บริษัทฯ ตระหนักดีว่า ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นประเด็นสำคัญ ด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมพลังงานที่ สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนในสังคม รวมถึงความปลอดภัยในการดำเนินงาน

ถึงแม้ว่าใน กระบวนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศโดยตรง แต่บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญในการควบคุมดูแล คุณภาพอากาศเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน ผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมถึงชุมชนที่อยู่โดยรอบโครงการและพื้นที่ปฏิบัติ งานของโครงการในกลุ่มบริษัทฯ ทั้งในช่วงการพัฒนา/ก่อสร้าง และการดำเนินงานซ่อม บำรุงรักษา

การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ
ดาวน์โหลด
กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและโอกาสของการมุ่งสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ บริษัทฯ จึงตั้งเป้าหมายสู่องค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2573 และการเป็นองค์กรที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero emission) ภายในปี พ.ศ. 2593 ด้วยความมุ่งมั่นในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่อง โดยมีการวางโครงสร้างการกำกับดูแลที่ชัดเจน รวมไปถึงการวางกรอบการจัดการกับความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

แนวทางในการเปิดเผยข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TCFD)

บริษัทฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาส โดยพิจารณาประเด็นที่อาจจะมีผลต่อบริษัทฯ ซึ่งได้ แบ่งความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอาศออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบทางกายภาพจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งพิจารณาการบริหารจัดการโอกาส ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของทรัพยากร ด้านแหล่งพลังงาน ด้านผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านตลาด และความยืดหยุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

กลุ่มบริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ พลังงานสะอาดและมีความ รับผิดชอบต่อสังคม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

กลุ่มบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติด้าน สิ่งแวดล้อมที่ระบุไว้ในนโยบายการ กำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

  • ปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายเป็นบรรทัดฐานขั้นต้น
  • ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตนเอง ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • ใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
  • สนับสนุนและพัฒนาการออกแบบจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่าง ต่อเนื่อง
การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก