มิติด้านการกำกับดูแลและเศรษฐกิจ

คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี และได้มอบหมายให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาล ทำหน้าที่หลักในการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการ นโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชัน และการห้ามให้ หรือเรียกรับสินบน รวมทั้งข้อกำหนดด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณทางธุรกิจ ภายใต้กรอบของกฎหมาย หลักเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแล

ผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลและเศรษฐกิจ

ผลการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลและเศรษฐกิจ

รายได้รวม

ล้านบาท

EBITDA

ล้านบาท

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

ล้านบาท

เงินปันผลจ่ายให้ผู้ถือหุ้น บาท/หุ้น

ข้อร้องเรียนจากลูกค้าที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจ

กรณี

ข้อร้องเรียนและการฝ่าฝืนจรรยาบรรณธุรกิจ

กรณี

จำนวนกรรมการทั้งหมด

คน
จำนวนกรรมการที่เป็นผู้บริหาร
คน
จำนวนกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (ไม่รวมกรรมการอิสระ)
คน
จำนวนกรรมการอิสระ
คน
ณ ปี 2566
การกำกับดูแลกิจการ

บริษัทฯ ได้จัดทำ นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตั้งแต่เริ่มแรกจัดตั้งบริษัท และได้ทบทวน / แก้ไขเพิ่มเติมนโยบายการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance Policy)

เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี พ.ศ. 2560 ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศใช้ และสอดคล้องกับบริบทของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด เป็นฉบับทบทวนครั้งที่ 7 เพื่อให้คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน

คณะกรรมการบริษัท
นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะวิกฤติ

บริษัทฯ ได้นํากระบวนการบริหารความเสี่ยงประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจทําให้องค์กรไม่บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์องค์กร และการเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์ในตลาด รวมถึงการดําเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ อย่างไรก็ดี

บริษัทฯ ได้กําหนดนโยบายให้ผู้บริหารและพนักงานทุกคนมีบทบาทในการบริหารความเสี่ยงในส่วนที่รับผิดชอบดําเนินการประเมิน และวางแผนบริหารความเสี่ยง ประกอบกับมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กร ซึ่งเป็นคณะกรรมการชุดย่อยที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล และติดตามการบริหารความเสี่ยงขององค์กรให้มีความเหมาะสมตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี

การบริหารจัดการความเสี่ยง
นโยบายบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทฯ มุ่งมั่นดำเนินงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และได้เล็งเห็นความสำคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ เสียในทุกมิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม แก่คู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน อีกทั้งส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว หรือการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่นอกเหนือจากการคำนึงถึงคุณภาพ ปริมาณ การให้บริการ และราคาของผลิตภัณฑ์ตามหลักเกณฑ์มาตรฐานของการจัดซื้อจัดจ้างโดยทั่วไป เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าร่วมให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจด้านพลังงานสะอาด

จรรยาบรรณคู่ค้าเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

การบริหารจัดการภาษี

บริษัทฯ ให้ความสําคัญกับการบริหารจัดการด้านภาษี โดยยึดหลัก ความถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้

เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม รวมถึงการ บริหารจัดการองค์กรให้มีความคล่องตัวและเหมาะสม เพื่อให้กลุ่มบริษัทมีศักยภาพในการปฏิบัติตาม ระบบภาษีสากลที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการภาษี