การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียและการประเมินประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืน
บีซีพีจี ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า นักลงทุนและผู้ถือหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจ ชุมชน สถาบันการเงิน หน่วยงานราชการและรัฐบาล และสื่อมวลชน โดยให้มีการปฏิบัติงานที่คำนึงถึงทุกภาคส่วน มีการกำหนดกระบวนการสื่อสารเพื่อรับทราบถึงความคาดหวังและข้อกังวลของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และ นำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาปรับปรุงแนวทางการดำเนินธุรกิจเพื่อให้มีการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน
- การเติบโตทางธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
- สิทธิมนุษยชนและแรงงาน รวมถึง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- สภาพแวดล้อมในการทำงาน (ทำงาน อย่างมีความสุข)
- การพัฒนาทักษะ
- เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ และ ความมั่นคง
- ค่าตอบแทน สวัสดิการ และผลประโยชน์ ที่เป็นธรรม
- สื่อสารกับพนักงานเกี่ยวกับความสำเร็จ ของธุรกิจในปัจจุบัน
- สร้างความตระหนักรู้ผ่านโครงการ นักคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ปี 2 ให้สามารถพิชิตปัญหา โลกร้อนด้วยหลัก 3Rs
- ดำเนินการสอดคล้องตามมาตรฐาน แรงงานไทย (Thai Labor Standard) และปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเคารพ ในหลักสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดตั้ง สหภาพแรงงานเพื่อคุ้มครอง ผลประโยชน์ของพนักงาน
- จัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย ในการจัดการดูแลและ ควบคุมผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในองค์กร เพื่อป้องกันและลดการเกิด อุบัติเหตุจากการทำงาน และรักษา มาตรการอุบัติเหตุเป็นศูนย์
- จัดหลักสูตรการฝึกอบรมให้พนักงาน ในแต่ละระดับตามแผนการพัฒนา ส่วนบุคคล (Individual Development Plan) เพื่อรักษาพนักงานที่มีคุณภาพให้ มีทักษะที่หลากหลาย
- ให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เป็นธรรม และเหมาะสมแก่พนักงาน ผ่านการเปรียบเทียบกับบริษัท ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
- พัฒนาและฝึกอบรมทักษะในสายอาชีพ ของพนักงานแต่ละคน
- จริยธรรมทางธุรกิจ และการปฏิบัติ ตามข้อกำหนด
- การเติบโตของธุรกิจ
- ความปลอดภัยทางไซเบอร์
- โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพ ภูมิอากาศ และความกังวล ด้านสิ่งแวดล้อม
- การจัดการนวัตกรรม (นวัตกรรม ด้านพลังงาน)
- สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย
- ความพร้อมของข้อมูล และ การตอบสนองต่อข้อซักถามของลูกค้า รวมถึงความถูกต้องของข้อมูล
- ปฏิบัติตามกฎหมายและ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของ สายธุรกิจภายในบริษัทฯ
- บังคับใช้กฎหมายจัดการคุ้มครองข้อมูล ตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล . 2562 และดูแลรักษาข้อมูล จัดเก็บข้อมูล อย่างต่อเนื่องตามข้อกำหนดในระบบ มาตรฐาน ISO27001 (Information Security Management System)
- จัดการฝึกอบรมเรื่องความ ปลอดภัยของข้อมูลให้แก่พนักงาน และเปิดช่องทางการรายงานเมื่อ พนักงานได้รับ E-mail ที่น่าสงสัย
- ตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย กระบวนการตรวจสอบและบริหารจัดการ พลังงานภายในองค์กร
- บริหารจัดการความปลอดภัยและ อาชีวอนามัยตามมาตรฐาน ISO45001
- ให้ความร่วมมือตอบข้อซักถาม และนำส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด
- จริยธรรมทางธุรกิจ และความโปร่งใส
- การเติบโตของธุรกิจ
- สิทธิมนุษยชนและแรงงาน
- ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม
- กำหนดจรรยาบรรณทางธุรกิจสำหรับ คู่ค้า และสื่อสารไปยังคู่ค้า ร่วมกับ การตรวจประเมินประเด็นด้าน ESG
- รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับคู่ค้า ในความไว้วางใจในกระบวนการจัดซื้อ ด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ รวมถึงการตอบสนองอย่างรวดเร็ว และ การส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนและ แรงงาน
- กำหนดและบังคับใช้ห่วงโซ่อุปทาน ที่ยั่งยืน เพื่อลดความเสี่ยงและเติบโต ไปพร้อมกับคู่ค้า เช่น การลงทะเบียน ผู้ขายใน Approve Vendor List (AVL) การประเมินความเสี่ยงคู่ค้าและ ประเมินผลคู่ค้า
- พัฒนาโครงการร่วมกัน รวมถึง สร้างศักยภาพผ่านกระบวนการฝึกอบรม
- กำหนดระยะเวลาชำระเงินให้แก่คู่ค้า อย่างเป็นธรรม
- จริยธรรมทางธุรกิจ และความโปร่งใส
- การเติบโตของธุรกิจ (เช่น ทิศทาง ความคืบหน้าโครงการ)
- ผลการดำเนินธุรกิจ (เช่น ผลตอบแทน ของผู้ถือหุ้น)
- การปฏิบัติตามกฎของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล
- ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ในการดำเนินธุรกิจ
- นวัตกรรมด้านพลังงาน
- การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านพลังงาน
- การลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างต่อเนื่อง
- ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ กฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด
- เปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง ด้วยความโปร่งใสภายในกำหนด ระยะเวลา โดยเป็นข้อมูลที่เข้าใจง่าย และเข้าถึงได้จากเว็บไซต์ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Factsheet/Company Profile และผลการดำเนินงาน
- ให้ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ประสานงาน กับนักลงทุนและผู้ถือหุ้น รวมถึงให้ ความร่วมมือในการตอบคำถามด้วย ข้อมูลที่ถูกต้องและอยู่ภายในกำหนด ระยะเวลา
- เปิดรับความคิดเห็นและคำถามที่ได้รับ จากนักลงทุนไปสู่ผู้บริหาร
- จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นตาม ผลการดำเนินงาน และนโยบาย ของบริษัทฯ
- แสวงหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจ พลังงานสะอาดที่เหมาะสม
- ร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจพลังงาน สะอาด
- จริยธรรมทางธุรกิจ และความโปร่งใส
- การเติบโตของธุรกิจ - ทิศทาง ด้านพลังงานสะอาดและที่เกี่ยวเนื่อง
- การดำเนินธุรกิจและผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และความปลอดภัย
- ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ กฏหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด
- สนับสนุนนโยบายและแนวปฏิบัติ ด้านพลังงานจากภาครัฐ
- ร่วมมือพัฒนาธุรกิจ เช่น การขยายธุรกิจ การกักเก็บพลังงานในพื้นที่ที่มีศักยภาพ
- ร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เช่น การพัฒนาแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน
- แลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยี พลังงานสะอาด
- ผลกระทบทางธุรกิจต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม
- ความมุ่งมั่นของบริษัทในการจ้างงาน คนในท้องถิ่น
- การมีส่วนร่วมของชุมชนกับบริษัท รวมไปถึงการสนับสนุนกิจกรรมของ ชุมชน
- การปฏิบัติตามกฎหมายด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม
- ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของบริษัท อย่างเคร่งครัด
- จ้างคนในท้องถิ่นที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า ให้ดำเนินงานในธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ
- สนับสนุนกิจกรรมของชุมชนในรูปแบบ ที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน ตามความเหมาะสม เช่น กิจกรรม ด้านการกีฬาและการศึกษาเป็นประจำ รวมถึงการให้ความรู้ด้านพลังงานสะอาด แก่เยาวชน
- ใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างประโยชน์/คุณค่า แก่ชุมชนโดยรอบ เช่น ติดตั้งระบบ ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคาให้กับโรงพยาบาลในพื้นที่ ปฏิบัติการ
- มีส่วนร่วมกับชุมชนผ่านกิจกรรมส่งเสริม วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละพื้นที่
- จริยธรรมทางธุรกิจ และความโปร่งใส
- การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงการ จัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยใน การดำเนินธุรกิจและการทำสัญญาเงินกู้
- ความใส่ใจต่อสังคมและการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้เสีย
- การบริหารจัดการความเสี่ยง
- ความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจและ เติบโตร่วมกันตามสัญญาข้อตกลง
- ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเงินกู้และ เงื่อนไขเฉพาะอื่นๆ อย่างเคร่งครัด
- ปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของ สถาบันการเงินของภาครัฐอย่างเคร่งครัด
- ให้ความร่วมมือในการตอบข้อซักถาม ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและตามกำหนดเวลา
- การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้อง
- จริยธรรมทางธุรกิจ และความโปร่งใส
- การคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคม ในการดำเนินธุรกิจ
- การสนับสนุนด้านพลังงานของภาครัฐ และการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
- ปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด
- ตอบสนอง และชี้แจงด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด
- ดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวัง และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ สังคมที่อาจเกิดขึ้น เช่น รักษาการจัดการ สิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO14001 และรักษาการจัดการ ความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISO45001
- ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของ สายธุรกิจในบริษัทฯ
- ให้ความร่วมมือและสนับสนุน หน่วยงานของรัฐในการส่งเสริม การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและ สังคม เช่น การจัดหาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในการปรับปรุงนโยบาย ด้านพลังงาน
- การเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส เช่น ทิศทางธุรกิจ การขยายธุรกิจ ความคืบหน้า รวมถึงความใส่ใจ สิ่งแวดล้อมและสังคม
- ช่องทางการสื่อสารที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และมีการตอบรับ ได้ทันท่วงที
- เปิดเผยข้อมูลล่าสุดผ่านช่องทาง การสื่อสารขององค์กร
- ให้ฝ่ายสื่อสารองค์กรประสานงานระหว่าง องค์กรและสื่อมวลชน
- ตอบข้อซักถามด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด
กระบวนการดำเนินงาน
การทบทวนและ ระบุประเด็นสำคัญ ด้านความยั่งยืน
นำประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนในปี 2565 มาทบทวนและพิจารณาประเด็นด้านความยั่งยืนใน ระดับประเทศและระดับโลกทั้งความเสี่ยงและโอกาสของ อุตสาหกรรม รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน และนำประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ผ่านการกลั่นกรอง ไปสอบถามความคิดเห็นและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้สอดคล้องบริบทความยั่งยืนที่ เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันและอนาคต
การประเมินและจัดลำดับ ประเด็นสำคัญ ด้านความยั่งยืน
ประเมินและจัดลำดับความสำคัญตามกรอบการประเมิน Double Materiality โดยพิจารณาถึงผลกระทบทางการเงิน และที่ไม่ใช่ทางการเงินจากผลสำรวจความคิดเห็นและ ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ให้ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับ ผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละสายงานให้ความเห็นและพิจารณา จัดลำดับประเด็นสาระสำคัญขององค์กรในการพัฒนาต่อยอด ทางด้านยุทธศาสตร์ความยั่งยืนและเป้าหมายขององค์กร
การตรวจสอบและรับรอง ประเด็นสำคัญด้านความ ยั่งยืน
พิจารณาทบทวนและตรวจสอบผลที่ได้จากการประเมิน ประเด็นสำคัญและนำเสนอต่อคณะผู้บริหารเพื่อพิจารณาให้ ความเห็นชอบ รวมถึงกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการ ตามบริบทขององค์กร
การเปิดเผยข้อมูล ประเด็นสำคัญด้านความ ยั่งยืน
รายงานแนวทางการจัดการและผลการดำเนินงานของประเด็น สำคัญ รวมถึงติดตามผลการดำเนินงานประเด็นความยั่งยืน อื่นๆ
Materiality Matrix
ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ
สิ่งแวดล้อม
- 1 ความรับผิดชอบต่อ ผลิตภัณฑ์และบริการ
- 2 การเปลี่ยนผ่านด้าน พลังงาน
- 3 การปรับตัวและ บรรเทา การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ
สังคม
- 4 การมีส่วนร่วมพัฒนา ชุมชนและสังคม
- 5 การรักษาและพัฒนา ศักยภาพทุนมนุษย์
- 6 ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อม ในการทำงาน
เศรษฐกิจ
- 7 ความเสี่ยง และโอกาสที่ เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
- 8 บรรษัทภิบาลสู่ธุรกิจที่ ยั่งยืน
- 9 การต่อต้านการทุจริต
- 10 เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
- 11 นวัตกรรมเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเด็นความยั่งยืนอื่นๆ
สิ่งแวดล้อม
- 12 การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
- 13 การจัดการคุณภาพอากาศและมลพิษ
- 14 การปกป้องระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ
- 15 การจัดการทรัพยากรทางน้ำ
- 16 เศรษฐกิจหมุนเวียน
สังคม
- 17 การปฎิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน
- 18 การสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มีความหลายและไม่แบ่งแยก
- 19 การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
เศรษฐกิจ
- 20 การยกระดับการจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน ตามมาตราฐานสากล
- 21 การจัดซื้อจัดจ้างอย่างมีความรับผิดชอบ
- 22 การบริหารห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืน
- 23 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
- 24 การป้องกันการผูกขาดและการค้าที่ไม่เป็นธรรม
บีซีพีจี และผู้มีส่วนได้เสีย
กลุ่มบริษัท ฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียในทุกด้านของห่วงโซ่คุณค่าในฐานะที่เป็นแรงขับเคลื่อนหละกในการสร้างธุรกิจอย่างยั่งยืนผ่านการดำเนินกิจกรรมต่างๆตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ทีดีกับผู้มีส่วนได้เสีย